head-bannongjok-min
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)
วันที่ 8 มีนาคม 2024 11:55 PM
head-bannongjok-min
โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)
df

รักษาการ

ผู้อำนวยการ โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)
เปิดภาคเรียนที่ 1 มีการคัดกรอง วัดอุณหภูมิ ล้างมือเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกัน โรคระบาดโควิท 19

เปิดภาคเรียนที่ 1 มีการคัดกรอง วัดอุณหภูมิ ล้างมือเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกัน โรคระบาดโควิท 19

วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 เปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ในรูปแบบ ขีวิตวิถีใหม่ มีการคัดกรอง วัดอุณหภูมิ ล้างมือเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกัน โรคระบาดโควิท 19

โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)

ประวัติ โรงเรียนบ้านหนองจอก (จิตติ-บุญศรี)

“หลังจากที่ข้าพเจ้าได้เข้าเฝ้าสมเด็จย่า ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์และกลับมาเมืองไทยเป็นเวลา 5 เดือน ได้ทำตามรับสั่งของ สมเด็จย่า ข้าพเจ้าได้นำครอบครัวเข้าเฝ้าที่วังสระปทุม ในโอกาสนั้นสมเด็จย่าบอกว่า อยากให้ช่วยทำบุญสร้างโรงเรียนที่ชายแดนเพื่อช่วยเหลือเด็กให้เรียนหนังสือซึ่งชายแดนหากเกิดเหตุฉุกเฉิน โรงเรียนนั้นยังสามารถใช้เป็น โรงพยาบาลชั่วคราว รักษาทหารที่บาดเจ็บหรือเป็นที่พักผ่อนได้ข้าพเจ้าถามว่า ชายแดนจังหวัดอะไร ท่านบอกว่าอยู่จังหวัดราชบุรี ซึ่งข้าพเจ้าก็บอกว่า ข้าพเจ้าก็เป็นชาวราชบุรี ท่านบอกว่าให้ทำบุญ 5๐๐,๐๐๐ บาท (ห้าแสนบาทถ้วน) ท่านจะส่งทหารช่างไปสร้างโรงเรียน ซึ่งหินกับไม้ ไม่ต้องเสียสตางค์ สามารถสร้าง โรงเรียนได้ใหญ่พอสมควร ท่านได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า ” โรงเรียนอัคคพงษ์กุล (โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)) ” จนถึงเดี๋ยวนี้ ข้าพเจ้าก็ยังไม่เคยเห็นโรงเรียนนี้เลยแต่พรรคพวกบอกว่าโรงเรียนสวยงามมาก อยู่ถนนใหญ่ ต.ชัฏป่าหวาย อ.จอมบึง จ.ราชบุรี” นายจิตติ อัคคพงษ์กุล ได้กล่าวไว้

สีประจำโรงเรียน : แดง+เหลือง
คำขวัญของโรงเรียน : ยังไม่มีข้อมูล

โรงเรียนบ้านหนองจอก มีแนวทางการพัฒนา ดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1   การพัฒนาด้านความรู้ความสามารถและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ บุคลากร  ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์  ดังนี้
–  จัดระบบการนิเทศภายใน
–  พัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 2     การพัฒนาด้านการจัดการเรียนการสอน  ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์  ดังนี้
–  พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นสำคัญดูการเปลี่ยนแปลง (opens in a new tab)
–  เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
–  สร้างวินัยและคุณธรรมนักเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 3     การพัฒนาด้านความถนัดและความสามารถ  ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์  ดังนี้
–  ส่งเสริมความสามารถด้านกีฬา  และศิลปะ
–  การพัฒนาความสามารถด้านอาชีพ
–  การพัฒนาความสามารถด้านคอมพิวเตอร์
ยุทธศาสตร์ที่ 4     การพัฒนาสุขภาพและอนามัยนักเรียน  ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์  ดังนี้
–  พัฒนาการจัดการด้านโภชนาการของนักเรียน
–  ส่งเสริมระบบการดูแลสุขภาพและการป้องกันโรค
ยุทธศาสตร์ที่ 5     การพัฒนาระบบการดูแล  และการช่วยเหลือนักเรียน  ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนา/กลยุทธ์  ดังนี้
–  พัฒนาระบบข้อมูลนักเรียน
–  สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 6  การพัฒนาด้านอาคารสถานที่  และแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน ประกอบด้วยแนวทางพัฒนา/กลยุทธ์  ดังนี้
–  การปรับปรุงอาคารเรียน  อาคารประกอบ
–  การสร้างแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน
ยุทธศาสตร์ที่ 7     การพัฒนาด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนระดับปฐมวัย  ประกอบด้วย แนวทางพัฒนา/กลยุทธ์  ดังนี้
–  สนับสนุนการจัดเตรียมความพร้อมนักเรียนด้านร่างกาย อารมณ์  จิตใจ  สังคม  และสติปัญญา
–  ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์

1. การสอนเชิงสร้างสรรค์
ใช้เครื่องมือ เกมหรือรูปแบบการฝึกความคิดสร้างสรรค์ เพื่อมากระตุ้นความคิดของนักเรียน และสามารถดึงดูดความสนใจของนักเรียนได้ วิธีนี้เป็นการทดสอบที่ต้องใช้เวลาในการระบุความสามารถในการสร้างสรรค์ของนักเรียน และเป็นการสนับสนุนให้พวกเขามีส่วนร่วมในความคิดสร้างสรรค์ พยายามนำแง่มุมของความคิดสร้างสรรค์ มาใช้ในทุกวิชาไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และประวัติศาสตร์ โดยคิดหาวิธีพัฒนาความคิด สร้างสรรค์ของนักเรียน รวมถึงส่งเสริมแนวคิดที่แตกต่างของนักเรียนอีกด้วย

2. เครื่องมือเสียงและวิดีโอ
ใช้สื่อโสตทัศนศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพสไลด์ ภาพยนตร์ แถบภาพยนตร์ ภาพอินโฟกราฟิกหรือ Mind Mapping เครื่องมือดังกล่าวนี้จะช่วยกระตุ้นให้จินตนาการ ของนักเรียนเติบโตยิ่งขึ้น ยังช่วยพัฒนาความสามารถทางด้านการฟัง และช่วยให้พวกเขาเข้าใจแนวคิดต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

3. การเรียนรู้ “โลกแห่งความจริง”
การผสมผสานประสบการณ์จริงเข้ากับคำแนะนำของครู จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนรู้ได้ง่าย การเชื่อมโยงและสาธิตผ่านสถานการณ์ จริงในชีวิตประจำวัน จะช่วยจุดประกายความสนใจ ของพวกเขาและทำให้เด็ก ๆ ตื่นเต้นและอยากมีส่วนร่วม

 

 

นานาสาระ

เรื่อง 3 แนวทางแก้อาการเบื่อหน่ายในชีวิตประจำวัน

เคยไหมที่รู้สึกนอนเบื่อๆไม่มีแรงจะทำอะไร หรือไม่รู้ว่าจะทำอะไรดี ได้แต่ปล่อยเวลาให้ผ่านพ้นไป เบื่อหน่ายกับชีวิตเดิม ๆที่แสนซ้ำซากอยู่ทุกวัน ซึ่งแต่ละคนจะมีกิจวัตรประจำวันแตกต่างกัน บ้างก็อ่านหนังสือเป็นประจำ ทำงานประจำ เล่นเกมประจำ ออกกำลังกายประจำ อย่างไรผู้เขียนก็หวังว่าจะมีสักข้อในนี้ที่แก้ความเบื่อของทุกกคนได้ วันนี้ผู้เขียนขอนำเสนอกิจกรรมยามว่างสำหรับคนที่ไม่รู้จะทำอะไรดีในวันๆหนึ่ง   

 

1.เบื่ออะไรสักอย่างที่บ้านให้ออกนอกบ้าน 

คนเราจะเกิดความเบื่อหน่ายได้ง่ายที่สุดคือการอยู่บ้านแล้วไม่มีอะไรทำ ส่วนตัวผู้เขียนเป็นคนค่อนข้างเก็บตัว ไม่ชอบค่อยเข้าสังคมหรือที่เรียกว่า คนประเภท introvert การได้อยู่บ้านเฉยๆโดยไม่เดือดร้อนอะไรจึงเป็นความสุขอย่างหนึ่ง แต่ผู้เขียนก็มีคนรู้จักที่ไม่ชอบการอยู่ติดบ้านทุกวันทุกสัปดาห์ สิ่งที่คนๆนั้นจะทำเมื่อรู้สึกเบื่อคือการออกไปนอกบ้าน ถ้านึกไม่ออกว่าจะไปไหนก็ลองไปสักที่ใกล้ๆบ้าน หรือที่ ๆเคยไป

 

อย่างไปเดินเล่นห้างสรรพสินค้า ไปสวนสาธารณะ ไปดูหนัง ให้ร่างกายได้รับความเปลี่ยนแปลงหรือในอีกทางหนึ่งคือไปผลาญพลังงานตัวเองเล่น พอออกไปข้างนอกก็จะเหนื่อย เมื่อเหนื่อยจะหิวแล้วก็ออกหาของอร่อยกินอาจจะไปเจอร้านอาหารที่ไม่เคยเข้า ลองชิมดูสักเมนูแล้วเกิดติดใจ ไม่ก็ไปดื่มอะไรเย็นๆที่ร้านคาเฟ่ ลองเข้าที่ๆไม่เคยไปสักครั้งจะได้รู้ว่าครั้งต่อไปควรเข้าไปอีกหรือควรมาบ่อย ๆ ยิ่งถ้าเราได้เดินทางด้วยตัวเองมันจะช่วยให้แก้เบื่อจากการติดบ้านเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ทำอะไรสักอย่างได้และหายเบื่อในที่สุด

 

 2.เบื่อเพราะไม่มีอะไรให้ดูในโลกโชเชี่ยล

ผู้เขียนมักจะเจอเหตุการณ์ที่วันหนึ่งทั้งวันจะไม่ค่อยมีข่าวสารอะไรใหม่บนโลกออนไลน์ หรือ Facebook ไม่มีคลิปใหม่ที่น่าสนใจบน YouTube ได้แต่อ่านเรื่องเดิม ๆบนฟีด หรือดูวีดิโอเดิมที่ดูไม่รู้แล้วกี่รอบ ในสถานการณ์เช่นนี้อาจเกิดได้ยากสำหรับคนที่ติดตามข่าวสารหลากหลาย หรือมีแนวคลิปที่สนใจอยู่เยอะ วิธีแก้ของผู้เขียนคือถ้าวันนั้นทั้งวันเจอแต่อะไรเดิม ๆ

 

ผู้เขียนจะไปอ่านเรื่องราวที่ชอบอ่าน หนังสือที่อ่านกี่ทีก็ยังสนุก กลับไปดูคลิปวีดิโอเก่าที่เคยขำหัวเราะ การ์ตูนที่ชื่นชอบ เพลงเก่าที่ไม่ได้ฟังมานาน เอากลับมาฟังมาดูอีกครั้ง ผู้เขียนมั่นใจว่ามันจะเติมเต็มช่วงเวลาที่เบื่อได้แน่นอน เพราะความทรงจำดี ๆจะมอบความสุขให้เราทุกครั้งที่กลับไปหามัน หากยังลดความเบื่อไม่ได้ดั่งใจ หรือกลับไปทำครบแล้วก็ยังคงเบื่ออยู่ ผู้เขียนลองให้ผู้อ่านลองเปิดใจดูโฆษณาอะไรก็ได้ที่ผ่านตาครับ เพราะบางครั้งที่เราเบื่อโลกโซเชี่ยล โลกออนไลน์ เนื่องจากเรารับข้อมูลที่เร็วเกินไป เหมือนเราเอาเงินทั้งเดือนไปกินซูซิ 10 ชิ้นแต่เรากลับกินมันให้หมดภายในคำเดียว ภายในเวลาไม่ถึง 10 นาที แน่นอนว่าใน 10 นาทีนั้นคงมี

 

ความสุขจากความอร่อยแล้วยังคงติดปากเราไปอีกสักพัก แต่นั่นก็คงไม่นานเท่ากับการที่เราได้เห็นเซฟค่อยๆทำให้กินทีละคำ ได้ฟังว่าซูซิคำนั้นทำมาจากอะไร ความอร่อยแบบไหนที่กำลังเข้าปากเรา จากการกิน 10 คำ 10 นาทีก็จะกลายเป็น 10 นาทีต่อ 1 คำ เราจะได้ทั้งความสุขจากการบรรยายสรรพคุณของอาหารและความอร่อยของมัน มีความสุขกับซูซิคำนั้นได้นานยิ่งขึ้น ถึงแม้โฆษณาจะไม่ใช่สิ่งที่น่าสนใจแบบการที่เซฟพูดถึงซูซิ

 

แต่ยังมีโฆษณาหลายตัวที่พยายามหาวิธีต่าง ๆให้คนสนใจและจะต้องมีแน่นอนโฆษณาที่ขายไอเดีย ความสร้างสรรค์ อย่างโฆษณาบางตัวที่ลงทุนทำเป็นหนังสั้น ดูแล้วก็ชอบ ดูแล้วสนุกดี ไม่แน่เราอาจเกิดแรงบันดาลใจทำอะไรสักอย่างต่อไป หรืออย่างน้อยนั่นอาจเป็นการใช้เวลาที่น่าเบื่อหน่ายของคุณยืดเวลาความสุขให้มากขึ้น วันไหนคุณไม่ได้รีบอะไรลองเปิดใจดูโฆษณาสักตัว การดูโฆษณาไม่ได้ทำให้เสียเวลามากอย่างที่คิดและเราจะกดข้ามตอนไหนก็ได้หากไม่ถูกใจ อีกทางหนึ่งคือทิ้งโลกโชเชี่ยลซะ แล้วไปหางานอดิเรกซักอย่างทำ อาจเป็นการฝึกทักษะภาษา การทำอาหาร ออกกำลังกาย งานแฮนเมดต่าง ๆ หรือกระทั่งหาสัตว์เลี้ยงน่ารักๆซักตัวมาเป็นเพื่อนแก้เบื่อหากคุณมีความพร้อมมากพอ

 

3.เบื่องานของตัวเอง 

เมื่อเราต้องทำงานเดิม ๆอยู่เป็นประจำ หรือทำเจ้างานนี้มาหลายชั่วโมงแล้วยังไม่เสร็จสักกะที ความเบื่อหน่ายจะเริ่มก่อตัวขึ้น การทำอะไรเดิม ๆเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้คนเราเบื่อง่าย แต่การหยุดทำงานไปเลยคงไม่ใช่คำตอบของคุณ ในข้อนี้ผู้เขียนขอเสนอให้ลองเปลี่ยนอุปกรณ์การทำงานดู ผู้เขียนมักจะใช้โน้ตบุ๊คทำงานมาตลอดตั้งแต่สมัยเรียนมหาลัย บางครั้งจะมีความเบื่อที่ต้องเปิดโน้ตบุ๊คเครื่องนี้เพื่อทำงานเสมอ จนวันหนึ่งผู้เขียนต้องรีบแก้งานให้เร็วที่สุดจึงใช้คอมห้องสมุด ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะธรรมดาๆ แต่เวลาผู้เขียนลองใช้พิมพ์แก้งานดู ก็รู้ได้ถึงความแปลกใหม่ เท่าที่จำได้ผู้เขียนก็ไม่ได้ใช้คอมตั้งโต๊ะมาตั้งแต่สมัยประถม

 

เมื่อได้กลับมาใช้อีกครั้งก็ได้รู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง ทำให้รู้สึกทำงานได้สะดวกขึ้น เหมือนได้เปลี่ยนบรรยากาศ ความรู้สึกเบื่อหน่ายก็หายไป หลังจากนั้นเวลาผู้เขียนเบื่อการทำงานแบบเดิมก็จะแวะไปทำงานที่คอมห้องสมุดแทน พอช่วงทำงานผู้เขียนก็ยังคงได้ใช้โน้ตบุ๊คเครื่องเดิมทำงาน เวลาเบื่อก็จะเปลี่ยนไปทำงานบนไอแพดแทน อันที่จริงผู้เขียนยังคงใช้มันไม่คล่องนัก แต่มันก็เปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากปกติทำให้ช่วยแก้เบื่อได้ดี สำหรับงานอื่นแม้ผู้เขียนจะไม่ได้มีประสบการณ์จากทุกสายอาชีพแต่ก็เชื่อว่าทุก ๆอาชีพมีแนวทาง วิธีการในการทำงานนั้นมากกว่าหนึ่งทางได้  ตราบใดที่พระอาทิตย์ยังคงขึ้นจากทิศตะวันออกและตกทางทิศตะวันตก เกิดขึ้นอยู่ซ้ำ ๆ การที่เราจะเจอเหตุการณ์เดิม ๆ น่าเบื่อๆ ยังคงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่เราสามารถใช้ความน่าเบื่อ คิดสรรหาวิธีใหม่ให้แตกต่างจากเดิมและสนุกมากขึ้นได้ เรียกว่าเราควรขอบคุณความน่าเบื่อที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เราคิดริเริ่มเปลี่ยนแปลงทำในสิ่งใหม่ๆ ที่มันดีขึ้นกว่าเก่า

 

โรงเรียนบ้านหนองศาลเจ้า

โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)
โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)
โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)
โรงเรียนบ้านหนองจอก(จิตติ-บุญศรี)